ความเป็นมาของกลุ่ม/ขอบเขตภาระงาน

          นับแต่ทบวงมหาวิทยาลัยได้ประกาศนโยบาย และแนวปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็ได้เริ่มจัดให้มีการฝึกอบรมและสัมมนาเพื่อเตรียมความพร้อมในการประกันคุณภาพการศึกษาตามแนวของทบวงฯ และในเดือนกันยายน 2541 คณะฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมด้านการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งได้ประกาศวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะฯ นอกจากนั้น คณะฯ ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 22 คณะวิชาตามโครงการนำร่องของทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา

            ในเดือนธันวาคม 2541 คณะฯ ได้จัดประชุมพบปะระหว่างคณาจารย์ของคณะฯ เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพของคณะฯ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการประกันคุณภาพการศึกษา นอกจากนั้นคณะฯ ยังได้แต่งตั้งคณะทำงานชุดต่าง ๆ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยทั้งในระดับคณะฯ และระดับภาควิชา

          ต่อมาปี 2542 คณะฯ ได้จัดตั้งสำนักงานพัฒนาคุณภาพขึ้น เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านประกันคุณภาพการศึกษาของคณะฯ โดยรวมอยู่ในกลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ และได้มีคู่มือคุณภาพฉบับแรกในเดือนมิถุนายน 2542 ซึ่งมีองค์ประกอบคุณภาพ ดัชนีและเกณฑ์คุณภาพที่สอดคล้องกับระบบคุณภาพที่พัฒนาตามโครงการนำร่องของทบวงฯ จนกระทั่งเดือนมีนาคม 2543 คณะฯ และภาควิชาฯต่าง ๆ ได้จัดทำรายงานการตรวจสอบตนเอง (SSR) ฉบับแรก และคณะฯ ได้จัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพภายใน โดยคณะกรรมการที่คณะฯ แต่งตั้งขึ้นในระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2543

          ด้วยเหตุที่การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพของคณะฯ มีความก้าวหน้าเป็นลำดับ ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้ใช้คณะฯ เป็นสถานที่ทดลองฝึกปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพภายนอกในวันที่ 4 กรกฎาคม 2543 จากนั้น คณะฯ ก็ได้รับการตรวจสอบคุณภาพภายนอก โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยทบวงมหาวิทยาลัยในระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2543 และคณะอนุกรรมการมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา

          จากการที่คณะฯ ได้มีการดำเนินกิจกรรมด้านประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง กอปรกับคณะฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของกิจกรรมด้านประกันคุณภาพการศึกษาว่าการประกันคุณภาพจะครอบคลุมอยู่ในทุกองค์กร ประกอบกับภารกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพมีหลากหลาย เช่น การประกันคุณภาพ ฐานข้อมูลคุณภาพ การควบคุมภายใน การดำเนินการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (กพร.) การดำเนินการราชการใสสะอาด ระบบการจัดการความรู้ โครงการพัฒนางาน กิจกรรม 5 ส. กิจกรรมการจัดการความรู้ KPIs ฯลฯ โดยมีบุคลากรประจำหน่วยงาน จำนวน 2 คน (ข้าราชการ 1 คน พนักงานเงินรายได้คณะฯ 1 คน) ดังนั้น การมีหน่วยงานเพื่อรองรับภารกิจดังกล่าวจะทำให้การบริหารงานทางด้านการประกันคุณภาพของคณะฯ เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2548 จึงได้แยกงานพัฒนาคุณภาพออกมาจากกลุ่มงานสนับสนุนวิชาการฯ เป็นหน่วยงานต่างหาก โดยใช้ชื่อว่า “สำนักงานพัฒนาคุณภาพ” ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารงานและดำเนินการด้านการจัดการระบบคุณภาพมีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

          ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2551 คณะฯ ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขานุการคณะฯ เป็นการภายใน โดยแยกแผนงานซึ่งเดิมอยู่ในกลุ่มงานแผนงาน การเงิน และพัสดุ มารวมกับสำนักงานพัฒนาคุณภาพ และใช้ชื่อว่า “กลุ่มงานแผนงาน และพัฒนาคุณภาพ” เพื่อให้งานแผนงาน และงานพัฒนาคุณภาพเชื่อมโยงและประสานงานอย่างกลมกลืน  ซึ่งจะบ่งบอกถึงหน่วยงานสนับสนุนที่มีลักษณะ One Stop Service รวมถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ขอบเขตภาระงานทั้งหมดของหน่วย

           กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาคุณภาพ เป็นส่วนราชการภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งสังกัดสำนักงานเลขานุการ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะฯ ให้ตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานภายใน เมื่อวันที่  11 มีนาคม พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ เพื่อยกระดับความสำคัญของหน่วยงานให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของมหาวิทยาลัยและคณะฯ ที่จะทำหน้าที่ให้งานด้านแผนงาน และการประกันคุณภาพการศึกษามีความเข้มแข็ง เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในภาพรวมของคณะฯ โดยมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ  ดังนี้

(1) งานด้านแผนงาน

- การบรรจุหลักสูตรใหม่ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา
- การปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงาน
- การจัดทำแผนกลยุทธ์ประจำปี
- การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของคณะฯ
- ข้อมูลประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีของมหาวิทยาลัย
- การยืนยันภาระงานใหม่และจำนวนนักศึกษารับเข้าใหม่
- การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี
- การจัดทำงบประมาณเงินรายได้ประจำปี
- การค่าจัดสรรงบประมาณค่าเดินทางไปราชการ
- การจัดสรรเงินค่าวัสดุประจำปี
- การจัดสรรเงินรายได้พัฒนาภาควิชา
- การจัดสรรเงินรายได้โครงการพิเศษ
- การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินรายได้พัฒนาภาควิชา
- การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินรายได้ประจำปีของส่วนกลางคณะฯ
- การจัดทำคำขอกำหนดตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยเพิ่มใหม่
- การจัดทำคำของบประมาณค่าจ้างชั่วคราวเงินงบประมาณแผ่นดิน
- การขอตั้งงบประมาณและกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของสถานวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนจากน้ำมันปาล์มและพืชน้ำมัน
- การกำหนดเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณภาระงานรายวิชาวิทยานิพนธ์

(2) งานด้านสารสนเทศและติดตามประเมินผล

- การสรุปภาระงานอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ประจำปี
- การสรุปและวิเคราะห์การใช้จ่ายเงินงบประมาณและอัตรากำลัง
- การสรุปและวิเคราะห์การใช้พื้นที่ห้องเรียน ห้องประชุม อบรม สัมมนา
- การจัดทำข้อมูลให้หน่วยงานภายในและภายนอก เช่น ข้อมูลการประกันคุณภาพและข้อมูลด้านแผนงาน/งบประมาณ และการสำรวจข้อมูลจำนวนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ เป็นต้น
- การจัดทำฐานข้อมูลเบื้องต้น เช่น  รายการครุภัณฑ์  รายการที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ฯลฯ
- การประเมินแผนงาน/งาน/โครงการ

(3) งานด้านธุรการ ประชาสัมพันธ์ ประสานงานและส่งเสริมคุณภาพ

- ดำเนินการด้านรับ-ส่งเอกสารของหน่วยงาน
- เร่งรัด ติดตาม และติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน
- เวียนเอกสารต่าง ๆ ของหน่วยงาน
- ร่างหนังสือโต้ตอบของงานเพื่อประสานงานในเรื่องข้อมูลทั่วไป
- จัดพิมพ์ จัดเก็บ ค้นหา บันทึกเสนองานเอกสาร หนังสือราชการต่าง ๆ ในหน่วยงาน รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลที่จัดพิมพ์ และสำเนาหนังสือ เอกสารเพื่อจัดส่งไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน และอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ
- ดำเนินการด้านการแจ้งซ่อม จัดหา จัดซื้อ และเบิกจ่ายวัสดุ ครุภัณฑ์ต่าง ๆ ของหน่วยงาน
- ติดต่อประสานงานกับบุคลากรภายใน และภายนอกคณะฯ
- ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และปรับปรุงข้อมูลบน Web Site กลุ่มงานแผนงานและประกันคุณภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ดำเนินการ และประสานงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ดำเนินการจัดส่งเอกสารต่าง ๆ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(4) งานด้านการจัดการฐานข้อมูลคุณภาพ

- การวางระบบการจัดการฐานข้อมูล
- การรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์
- การประสานงานการจัดทำ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลคุณภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- จัดเตรียมข้อมูล/เอกสาร และประสานงานการประชุมของคณะทำงานฐานข้อมูล คณะวิศวกรรมศาสตร์

(5) งานด้านกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ

(5.1) กิจกรรมประกันคุณภาพ
- ประสานงานกับมหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายในจากมหาวิทยาลัย และการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.
- ประสานงานกับคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน
- ดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ดำเนินการประสานงานในการขอข้อมูลภายในหน่วยงานเพื่อจัดทำรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ติดตามผลการจัดทำรายงานประจำปีระดับภาควิชา/หน่วยงาน
- ประสานงานในการรวบรวมข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อการประเมิน
- ประสานงานกับหน่วยงาน/ภาควิชาภายในคณะฯ เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมรับการประเมิน
- จัดเตรียมข้อมูล/เอกสาร และประสานการประชุมด้านการประกันคุณภาพ เพื่อนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของคณะวิศวกรรมศาสตร์
- ดำเนินการตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
- ประสาน ติดตามการจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนพัฒนาคุณภาพจากผู้บริหารที่รับผิดชอบแต่ละด้าน

(5.2) การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำรายละเอียดการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
- ดำเนินการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยง
- จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน คณะวิศวกรรมศาสตร์

(5.3) โครงการพัฒนางาน
- ประสานงานโครงการพัฒนางานของภาควิชา/หน่าวยงานต่างๆ ภายในคณะฯ
- จัดเตรียมข้อมูล/เอกสาร และประสานงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงการพัฒนางาน
- ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนางานของภาควิชา/หน่วยงานต่าง ๆ ภายในคณะฯ

(5.4) การจัดการความรู้
- ประชาสัมพันธ์การจัดการความรู้บน Web Site
- ประสานงาน และดำเนินการด้านการจัดการการเรียนรู้ คณะฯ
- ติดตามและประชาสัมพันธ์ให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านทาง Web Site
- จัดเตรียมข้อมูล/เอกสาร และประสานงานการประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ประสานงานในการขอข้อมูลประกอบใน Web Site

(5.5) กิจกรรม 5 ส.
- ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้บุคลากรภายในคณะฯ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 5 ส.
- จัดกิจกรรมข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 5 ส.
- ให้ความร่วมมือ และประสานงานเกี่ยวกับกิจกรรม 5 ส. ในเชิงพัฒนาคุณภาพ คณะฯ
- ดำเนินการจัดทำกิจกรรม 5 ส. ภายในหน่วยงาน
- ประสานงานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ 5 ส. คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ประสานงานและติดตามผลการดำเนินการส่งเสริมกิจกรรม 5 ส.  คณะวิศวกรรมศาสตร์